• Wed. Sep 18th, 2024

รัสเซีย ซ้อมบินเครื่องบินทิ้งระเบิดเหนือทะเลญี่ปุ่น

0 0
Read Time:7 Minute, 23 Second

อย่างไรก็ดี ขณะที่ผู้นำญี่ปุ่นเดินทางเยือนยูเครน ทางรัสเซียก็ได้ส่งเครื่องบินรบขึ้นไปบินเหนือน่านฟ้าในทะเลญี่ปุ่น ซึ่งหลายฝ่ายมองว่านี่อาจเป็นการส่งสัญญาณเตือนจากรัสเซีย

กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้เผยแพร่ภาพวิดีโอ ขณะที่ซ้อมบินเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์รุ่นซุคฮอย ซู-30 ซีเอ็ม และซุคฮอย ซู-35 ซี จำนวน 2 ลำ เหนือเขตน่านฟ้าสากลในพื้นที่ทะเลญี่ปุ่น

เจ็บแต่จบ! สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีโอกาสสิ้นสุดในปีนี้?

ใครมีหัวรบนิวเคลียร์มากกว่ากัน? หลังปูตินส่อใช้นิวเคลียร์อีกครั้ง

กระทรวงกลาโหมรัสเซียเปิดเผยว่า เครื่องบินทั้งสองลำได้ซ้อมปฏิบัติภารกิจอยู่บนน่านฟ้าเป็นเวลากว่า 7 ชั่วโมงตามกำหนดการที่วางไว้ และการซ้อมดังกล่าวเป็นไปตามหลักปฏิบัติ รวมถึงข้อบังคับในการใช้น่านฟ้าสากลทุกประการ

อย่างไรก็ดี การซ้อมรบของรัสเซียเกิดในเวลาเดียวกันกับที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่า ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้เดินทางไปเยือนกรุงเคียฟอย่างไม่มีกำหนดการล่วงหน้า เพื่อเข้าพบกับโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน

การเดินทางเยือนยูเครนของผู้นำญี่ปุ่นครั้งนี้ ถือเป็นการเยือนครั้งประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 80 ปี ที่ผู้นำของญี่ปุ่นเดินทางไปเยือนพื้นที่สงครามด้วยตนเอง

หลังจากที่เดินทางไปถึงกรุงเคียฟ ผู้นำญี่ปุ่นได้ไปสำรวจความเสียหายที่เมืองบูชา ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเคียฟ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รัสเซียก่ออาชญากรรมสงคราม ด้วยการขัง ทรมาน และสังหารประชาชนอย่างโหดเหี้ยม ขณะเข้ายึดครองพื้นที่ในช่วงแรกของการรุกรานยูเครนเมื่อปีที่แล้ว

ขณะที่สำรวจความเสียหายในเมือง นายกฯ ญี่ปุ่นได้วางดอกไม้เพื่อระลึกถึงเหยื่อการก่ออาชญากรรมสงคราม พร้อมทั้งระบุว่า รู้สึกโกรธมากหลังจากที่ได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองบูชาด้วยตนเอง

จากนั้นผู้นำญี่ปุ่นได้เดินทางเข้าสู่กรุงเคียฟ โดยก่อนที่จะเดินทางไปยังทำเนียบประธานาธิบดียูเครน นายกฯ คิชิดะ ได้แวะวางพวงมาลาที่อนุสรณ์สถานวีรชน บริเวณจัตุรัสเซนต์มิคาอิล เพื่อสดุดีและระลึกถึงทหารยูเครนที่เสียชีวิตในสงคราม

เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจที่จัตุรัสเซนต์มิคาอิล นายกฯ ญี่ปุ่นได้เข้าพบและหารือร่วมกับประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครน

ประเด็นหลักในการหารือร่วมกันคือ เรื่องแผนสันติภาพในยูเครนและกระบวนการฟื้นฟูยูเครนหลังสงครามจบลง ก่อนที่ทั้งคู่จะลงนามในความร่วมมือพิเศษระหว่าง 2 ชาติ และออกมาแถลงข่าวร่วมกัน

โดยนายกฯ ญี่ปุ่นได้ประณามการกระทำของรัสเซียว่า ละเมิดระเบียบระหว่างประเทศ พร้อมทั้งยืนยันว่า ญี่ปุ่นจะช่วยเหลือยูเครนต่อไปจนกว่าจะบรรลุสันติภาพ และญี่ปุ่นจะสานความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ขณะที่ผู้นำยูเครนระบุว่า เขาได้ตอบรับคำเชิญของนายกฯ ญี่ปุ่น ว่าจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำ G7 ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีกำหนดจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น

การเดินทางเยือนยูเครนของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ถือเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญอีกครั้งนับตั้งแต่เกิดสงครามยูเครน เพราะผู้นำญี่ปุ่นเป็นผู้นำของเอเชียคนที่สองต่อจาก โจโค วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ที่เดินทางไปเยือนยูเครนด้วยตนเองเมื่อกลางปีที่แล้ว หลายฝ่ายพยายามวิเคราะห์ว่าสิ่งใดคือแรงจูงใจที่ทำให้ญี่ปุ่นแสดงท่าทีที่ชัดเจนเช่นนี้

คริสโตเฟอร์ จอห์นสโตน ที่ปรึกษาระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญด้านญี่ปุ่นศึกษา และนิโคลาส เช็ซเชนี นักวิจัยระดับสูง รองผู้อำนวยการกิจการเอเชียของสถาบันเพื่อการศึกษายุทธศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือ CSIS ระบุว่าคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เป้าหมายหลักในการเดินทางเยือนยูเครนของผู้นำญี่ปุ่นในครั้งนี้คือ การแสดงให้เห็นว่า ญี่ปุ่นสนับสนุนยูเครนและต่อต้านความพยายามของรัสเซียที่จะเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกด้วยการใช้กำลัง

ซึ่งญี่ปุ่นยึดถือหลักการนี้อย่างเคร่งครัดมาตลอด ขณะที่กำลังเผชิญหน้ากับการคุกคามของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกอยู่ในตอนนี้

นอกจากนี้ การเยือนของนายกฯ ญี่ปุ่นไม่ได้เป็นเพียงการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ว่าสนับสนุนยูเครนเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นนโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นที่แตกต่างไปจากเมื่อ 20 ปีก่อน

ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นจะดำเนินนโยบายแบบเป็นผู้ชมในเกมการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ แต่ตอนนี้ญี่ปุ่นไม่สามารถดำเนินนโยบายเดิมได้อีกต่อไป และต้องสร้างอิทธิพลท่ามกลางความขัดแย้งยูเครน เพราะผลของสงครามจะไปกำหนดอนาคตและความรุนแรงของภัยคุกคามจากจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

อย่างไรก็ดี ในการพบกันระหว่างผู้นำยูเครนและผู้นำญี่ปุ่นครั้งนี้ แม้จะมีนัยทางการเมืองซ่อนอยู่ แต่ผู้นำยูเครนก็ได้ใช้โอกาสนี้ กล่าวเชิญชวนผู้นำจีนซึ่งอยู่ในระหว่างการเยือนรัสเซีย ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติสงครามและสร้างสันติภาพในยูเครนด้วยกัน

หลายฝ่ายมองว่าประเด็นการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนที่มีจีนเป็นคนกลางอาจเป็นไปได้ เนื่องจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ประธานาธิบดีสี มีแผนที่จะต่อสายตรงโทรหาประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดสงครามด้วย และคาดว่าการเจรจาระหว่างผู้นำจีนและยูเครน จะเกิดขึ้นหลังการเดินทางเยือนรัสเซียที่เพิ่งเสร็จสิ้นไป

แม้ว่าบรรดาผู้นำของทั้งยูเครน จีน หรือญี่ปุ่น จะพูดถึงประเด็นเรื่องสันติภาพ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในสนามรบของยูเครนสะท้อนให้เห็นว่า หนทางที่จะไปสู่สันติภาพยังยาวไกล เพราะทั้งสองฝ่ายยังคงปะทะกันอย่างหนัก โดยเฉพาะที่เมืองบัคมุตในแคว้นโดเนตสก์ ทางภาคตะวันออกของยูเครน

การต่อสู้หลัก ๆ ระหว่างรัสเซียและยูเครนตอนนี้ขยับไปอยู่ทางตะวันตกของเมืองบัคมุตแลัว หลังจากที่รัสเซียยึดพื้นที่ทางด้านตะวันออกของเมืองได้

โดยพื้นที่ที่ตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีตอนนี้คือ เขตชาร์สิฟ ยาร์ ซึ่งเป็นฐานที่มั่นและทางออกสุดท้ายของทหารยูเครนในเมืองบัคมุต ทำให้รัสเซียระดมโจมตีเพื่อให้ทหารยูเครนล่าถอย

ผลจากการโจมตีอย่างหนัก ทำให้อาคารบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่เสียหายอย่างหนัก บางหลังเกิดเพลิงไหม้และพังลงมา หลังถูกกระสุนปืนใหญ่โจมตีใส่

แม้ว่าตอนนี้ทหารยูเครนในเมืองบัคมุตยังเสียเปรียบทหารรัสเซีย แต่ล่าสุดมีสัญญาณที่บ่งชี้ว่ายูเครนอาจกลับมารับมือรัสเซียได้อีกครั้ง หลังจากเมื่อคืนที่ผ่านมา สหรัฐฯ ออกมาประกาศว่า จะส่งรถถังหลักให้ยูเครนเร็วกว่ากำหนดการเดิมที่วางไว้

แพทริก ไรเดอร์ โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้แถลงข่าวว่า สหรัฐฯ จะเร่งจัดส่งเอ็มวัน เอบรามส์ รถถังหลักสัญชาติสหรัฐฯ ให้แก่ยูเครนภายในฤดูใบไม้ร่วงหรือประมาณเดือนกันยายนปีนี้

ขณะเดียวกัน เมื่อวานนี้ผู้นำรัสเซียก็ได้ออกมาแสดงความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องการส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ของชาติตะวันตกเช่นกัน

โดย วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียได้แถลงว่า ถ้าสหราชอาณาจักรส่งกระสุนเจาะเกราะรถถังที่บรรจุยูเรเนียมด้อยสมรรถนะไว้ภายในให้แก่ยูเครน จะเป็นการบังคับให้รัสเซียใช้มาตรการตอบโต้ขั้นเด็ดขาด

การออกมาโต้ตอบของผู้นำรัสเซียครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากที่บารอนเนสส์แอนนาเบล โกลดี สมาชิกจากสภาขุนนางและเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านกลาโหมของสหราชอาณาจักร ได้ตอบคำถามในกระทู้บนหน้าเว็บรัฐสภาสหราชอาณาจักรที่ถามว่า กองทัพจะส่งอาวุธที่มีส่วนผสมของยูเรเนียมด้อยสมรรถนะให้ยูเครนหรือไม่

ด้านบารอนเนสส์แอนนาเบลตอบว่า กองทัพสหราชอาณาจักรจะส่งกระสุนเจาะเกราะรถถังที่บรรจุยูเรเนียมด้อยสมรรถนะไปให้แก่ยูเครน พร้อม ๆ กับการส่งรถถังหลักรุ่นชาเลนเจอร์ 2

หลายฝ่ายกำลังกังวลว่า กระสุนเจาะเกราะยูเรเนียมที่สหราชอาณาจักรจะส่งไปให้ยูเครน อาจกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่นำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ เพราะกระสุนชนิดนี้เป็นกระสุนที่มีส่วนประกอบของสารกัมมันตรังสี เช่นเดียวกับที่ใช้ทำอาวุธนิวเคลียร์

โดยยูเรเนียมที่ถูกบรรจุไว้ในกระสุนเจาะเกราะชนิดนี้ แม้จะเป็นยูเรเนียมด้อยสมรรถนะ (Depleted uranium) แต่ก็ยังถือว่าเป็นสารพิษและมีอันตรายต่อร่างกายผู้สัมผัส

กระสุนเจาะเกราะยูเรเนียมถูกคิดค้นและผลิตในช่วงปลายทศวรรษ 1970 หลังจากที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เปิดเผยว่า กองทัพโซเวียตสามารถพัฒนาเกราะสำหรับรถถัง ที่ไม่มีกระสุนใดของกองทัพนาโตใช้สามารถเจาะทะลุเข้าไปได้

หลังจากพัฒนาเสร็จสิ้น กระสุนชนิดนี้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามอ่าว (Gulf War) ในปี 1991 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างชาติสมาชิกนาโตกับอิรัก หลังอิรักตัดสินใจรุกรานคูเวต

ในอดีตสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรบางส่วน เคยอ้างว่ากระสุนยูเรเนียมไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แต่งานวิจัยล่าสุดเปิดเผยว่า หลังสิ้นสุดสงครามอ่าว กระสุนยูเรเนียมที่เคยถูกนำมาใช้ ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในสนามรบที่ซาอุดีอาระเบีย คูเวต และทางตอนใต้ของอิรัก

นอกจากนี้ หน่วยงานทหารผ่านศึกของสหรัฐฯ รายงานว่ามีทหารผ่านศึกและประชาชนบางส่วนที่เคยสัมผัสกับยูเรเนียมด้อยสมรรถนะ กำลังประสบปัญหาทางสุขภาพ เช่น ไตพัง หรือเกิดโรคมะเร็งตามอวัยวะต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน นี่จึงทำให้หลายฝ่ายเป็นกังวลหากมีการนำอาวุธชนิดนี้มาใช้

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin