• Thu. Sep 12th, 2024

‘บาทดิจิทัล’ และโอกาสในการใช้งานในประเทศไทย

0 0
Read Time:4 Minute, 46 Second

เมื่อ สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC) ได้กลายเป็นหัวข้อที่สำคัญด้านการเงินและเทคโนโลยีของโลก อีกทั้งความนิยมของสกุลเงินดิจิทัลและการเพิ่มขึ้นของระบบการชำระเงินดิจิทัลที่หลายธนาคารกลางทั่วโลกกำลังสำรวจแนวคิดของ CBDCs กำลังเป็นที่สนใจในสังคมปัจจุบัน บทความนี้จะพาไปทำความรู้จัก “บาทดิจิทัล” และวัตถุประสงค์รวมถึงโอกาสความเป็นไปได้ในการใช้งานในประเทศไทย

บาทดิจิทัล คืออะไร?

บาทดิจิทัล คือ สกุลเงินดิจิทัลที่สร้างและควบคุมโดยธนาคารกลางแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีกชื่อที่หลายคนเริ่มคุ้นหูนั่นก็คือ CBDC หรือ Central Bank Digital Currency สกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศทั่วโลก ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของ เงินเฟียต (Fiat) ที่มีทั้งเงินบาทและธนบัตร ซึ่งมีคุณสมบัติในการเป็นสื่อกลางเพื่อชำระสินค้าและบริการ รักษามูลค่าได้ ชำระหนี้ตามกฏหมายได้ และเป็นหน่วยวัดทางบัญชีได้ เพียงแต่อยู่ในรูปแบบ “ดิจิทัล” นั่นเอง

นอกจากประเทศไทยที่ได้เริ่มพัฒนาบาทดิจิทัลแล้ว ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่กำลังมุ่งเน้นและนำไปสู่โอกาสในการใช้งานจริง เช่น หยวนดิจิทัล (Digital Currency Electronic Payment) เป็นเงินดิจิทัลสกุลใหม่ที่ถูกสร้างโดยธนาคารกลางของจีน ได้มีการเริ่มใช้งานจริงในระดับประชาชนเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ปี 2562

บาทดิจิทัลเป็นคริปโทหรือไม่?

แม้ว่าแนวคิดสำหรับการออกแบบบาทดิจิทัล หรือ CBDC ของธนาคารกลางจะมาจากสกุลเงินดิจิทัลและบางประเทศใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีเบื้องหลัง แต่บาทดิจิทัล ไม่ได้จัดอยู่ในประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งคริปโทหรือโทเคนแต่อย่างใด เนื่องด้วยคุณสมบัติและความแตกต่างจากปัจจัยหลักดังนี้

  • การควบคุมและการกระจายอำนาจ เป็นที่ทราบกันดีว่าบาทดิจิทัลถูกสร้างและควบคุมโดยธนาคารกลางแห่งประเทศไทย ซึ่ง CBDC ส่วนใหญ่จะทำงานบนระบบบล็อกเชนแบบปิด (Private Blockchain) นั่นหมายความว่าทางธนาคารกลางหรือภาครัฐยังมีอำนาจในการตรวจสอบและควบคุม CBDC ของตัวเองได้ในระดับหนึ่ง แต่สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทคริปโทหรือโทเคนนั้นเป็นการกระจายศูนย์ (Decentralised) และถูกควบคุมโดยผู้ใช้ส่วนใหญ่
  • การรักษามูลค่า สำหรับ CBDC แล้ว 1 บาทดิจิทัลมีมูลค่าเท่ากับ 1 เหรียญบาท นั่นหมายถึงมูลค่าของเงินจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่มีความผันผวน ซึ่งแตกต่างกับการรักษามูลค่าของเหรียญคริปโทและโทเคนโดยสิ้นเชิง
  • ปริมาณเหรียญ ยกตัวอย่าง เหรียญบิตคอยน์ จะถูกกำหนดมาให้มีปริมาณจำกัดอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญในโลกนี้ ซึ่งต่างกับ CBDC หรือบาทดิจิทัลที่เป็น Unlimited supply ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด

ประโยชน์และโอกาสในการใช้งานในไทยคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด

ประเทศไทยได้เริ่มสำรวจแนวคิดเกี่ยวกับการใช้งาน CBDC อย่างใกล้ชิด โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการวิจัยอย่างละเอียดและเริ่มต้นโครงการทดลองเพื่อประเมินความเป็นไปได้ รวมถึงผลกระทบของการใช้งาน จากการสำรวจของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศในปี 2564 พบว่า ธนาคารกลางทั่วโลกได้สนใจศึกษา Retail CBDC มากขึ้น เพื่อทดแทนหรือลดการใช้เงินสด เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงินในประเทศ เพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมชำระเงิน และเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินดิจิทัล ส่วนในประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีความเป็นไปได้ในการใช้ Retail CBDC เพื่อต้องการยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมเช่นกันคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg

ประโยชน์ที่ทางธนาคารประเทศไทยได้เล็งเห็นการใช้งานบาทดิจิทัล ได้แก่

1. การเป็นโครงสร้างพื้นฐานประเทศ – ที่จะสามารถเชื่อมต่อและใช้งานกับผู้ให้บริการทางการเงินที่หลากหลายผ่านมือถือและกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งนี้จะช่วย แก้ปัญหาจากรูปแบบระบบการเงินในปัจจุบันที่ยังคงมีอุปสรรคในการเชื่อมต่อและการบริการทางการเงินต่าง ๆ

2. รองรับการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินที่มากขึ้น – เพื่อรองรับการทำธุรกรรมการเงินกับเอกชน เช่น การจ่าย CBDC ที่ผูกกับ Tokenized Assets ต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า “Programmable Payment/Money” และอาจส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มเงินทุนและผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ ๆ ในอนาคตอีกด้วย

3. การรักษาสมดุลระหว่างภาครัฐและเอกชน – การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างรวดเร็วทำให้เงินดิจิทัลที่ออกโดยภาคเอกชน (Private Money) ยังมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยและความเสี่ยง บาทดิจิทัลจึงเป็นอีกหนึ่งในช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้าถึงเงินดิจิทัลของภาครัฐที่มีความปลอดภัย รองรับกิจกรรมทางการเงินดิจิทัลได้เต็มรูปแบบ

บทสรุป

CBDC มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงทิศทางทางการเงิน ทั้งในเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ทำให้เกิดโครงสร้างการชำระเงินดิจิทัลที่แข็งแกร่งมากขึ้น โดยภาพรวมนั้นค่อนข้างมีศักยภาพและความเป็นไปได้ และมีความจำเป็นต้องพิจารณาปัญหาและประเด็นต่าง ๆ ให้รอบด้านด้วย ไม่ว่าจะเป็น การรักษาความเป็นส่วนตัวเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน การกำหนดกรอบกฎหมายที่ครอบคลุม การทำธุรกรรมให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันได้ และสิ่งสำคัญคือจะต้องมีการกำกับดูแลเพื่อลดการกระทำที่ผิดกฎหมาย และในที่สุดจะต้องมุ่งเน้นให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ใช้งานทั่วไป ภาคธุรกิจ และสถาบันการเงิน สามารถนำไปปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อย สู่ความสำเร็จของการใช้เงินบาทดิจิทัลได้จริงในอนาคต

ส่วนของความคืบหน้าการทดลองใช้ Retail CBDC ปัจจุบันยังอยู่ในช่วงทดสอบ (Pilot Test) เป็นการใช้งานจริงในวงจำกัด โดยมีผู้ร่วมทดสอบภาคเอกชน 3 ราย ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ และ 2C2P และมีระยะเวลาการทดลองตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. – 31 ส.ค. 2566

อ้างอิง: Bank of Thailand, Bitkub Blog, Bitkub Blog 2, Thaibizchina, Investpedia

บทความโดย: Bitkub.com

คำเตือน:

  • คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต
Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin